• ภาษาไทย
    • English

กูรูแฟชั่น สถาปัตย์ มทร. ร่วม โครงการพัฒนาศักยภาพ และเพิ่มช่องทางการตลาดให้กับผู้ประกอบการ OTOP ผ้าไทย (Coaching ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา) จังหวัดสงขลา

เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2565 เวลา 09.30 ที่ห้องประชุมคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์โรงแรมบุรีศรีภู อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานพิธีเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ OTOP ผ้าไทย(Coaching ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญาโดยมีนายสมคิด จันทมฤก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชนกล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดทำโครงการฯ พร้อมด้วยนายเจษฎา จิตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา คุณรติรส จุลชาต กรรมการที่ปรึกษาโครงการผ้าไทยใส่ให้สนุก หัวหน้าส่วนราชการ พัฒนาการจังหวัด ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไทย และผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ผ้าไทย เข้าร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพและเพิ่มช่องทางการตลาดให้กับผู้ประกอบการ OTOP ผ้าไทย (Coaching ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญาจัดทำขึ้นเพื่อสนองแนวพระดำริ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ในการสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง อนุรักษ์มรดกภูมิปัญญาการทอผ้า พร้อมทั้งเผยแพร่พระอัจฉริยภาพของ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ด้านการออกแบบเครื่องแต่งกายและสิ่งทอ ต่อยอดการพัฒนาลายผ้าพระราชทาน “ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา” ตามแนวพระดำริ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก

กิจกรรมประกอบด้วยการจัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าและผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ จากกลุ่มทอผ้า 60 กลุ่ม/ราย ในพื้นที่ 14 จังหวัด workshop รูปแบบแบ่งกลุ่มประกอบด้วย  กลุ่มที่ 1 เรื่องเส้นใยและสาธิตการสาวไหมแบบโบราณ โดยคุณสุวรรณี รักวิจิต อาจารย์นภท์ชนก  ขวัญสง่า(อาจารย์หลักสูตรสาขาวิชาการออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอกลุ่มที่ 2 สาธิตการย้อมสีธรรมชาติ โดย คุณอาจารย์นวัทตกร อุมาศิลป์ อาจารย์ณัฐชนา นวลยัง และ อาจารย์ชไมพร มิตินันท์วงศ์(อาจารย์หลักสูตรสาขาวิชาการออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอ)ผู้เชี่ยวชาญด้านการย้อมสีธรรมชาติ กลุ่มที่ 3 Fashion Designer โดย คุณกุลวิทย์ เลาสุขศรี กลุ่มที่ 4 Trend And Fashion Expert โดยคุณศิริชัย ทหรานนท์ กลุ่มที่ 5 Branding Maketing & sale โดย คุณรติรส จุลชาต กลุ่มที่ 6 การออกแบบลายอัตลักษณ์ประจำถิ่น คุณธนันท์รัฐ ธนเสฎฐการย์

              ทั้งนี้ ผู้ประสานโครงการฯ ลงพื้นที่บันทึกวิดีโอกระบวนการย้อมสีธรรมชาติ จำนวน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มมีดีนาทับ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา  วิสาหกิจชุมชนทอผ้าบ้านสะพานพลา อำเภอนาทวี คณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญการย้อมสีธรรมชาติ จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เข้าร่วมในครั้งนี้ด้วย